ปัจจัยด้านลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ที่มีผลต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในหลายมิติ
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ 1.สำรวจปัจจัยลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ที่มีผลต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในหลายมิติ (Multidimensional Work Motivation Scale: MWMS) 2.เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในหลายมิติตามตามลักษณะงาน ซึ่งการเข้าใจในปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับแรงจูงใจของพนักงานจะช่วยให้องค์กรนำมาปรับใช้ในการเพิ่มระดับของแรงจูงใจของพนักงานได้ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีงานทำในช่วงช่วงอายุระหว่าง 15-60 ปี แบ่งออกเป็นพนักงานองค์กรเอกชน, หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ, เจ้าของกิจการ และกลุ่มอื่นๆ ที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 445 คน พบว่า 1. ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับแรงจูงใจของพนักงานในหลายมิติ ที่ความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย, ด้านความต้องการความมั่นคงปลอดภัย, ด้านความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือใน, และด้านความต้องการพัฒนาศักยภาพของตน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.55 2.ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานขึ้นอยู่ ลักษณะงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**