ปัญหาการรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรม
Abstract
เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ อันมีอยู่ก่อนที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตายย่อมตกทอดสู่ทายาท เว้นแต่ สิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิดที่เป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่หากทายาทตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกก็สามารถเข้ารับมรดกแทนที่ทายาทที่เสียชีวิตไปก่อนแล้วได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของสิทธิในการรับมรดกแทนที่ระหว่างผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยตรงกับผู้สืบสันดานประเภทบุตรบุญธรรม เนื่องจาก กรณีเจ้ามรดกมีบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมนั้นตายก่อนเจ้ามรดก บุตรของบุตรบุญธรรมมีสิทธิเข้ารับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่กันได้ แต่หากเป็นกรณีที่บุตรของเจ้ามรดกมีบุตรบุญธรรม และบุตรนั้นตายก่อนเจ้ามรดก บุตรบุญธรรมของบุตรเจ้ามรดกกลับไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมของตน แนวทางการตีความและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสิทธิรับมรดกแทนที่ระหว่างผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยตรงกับผู้สืบสันดานประเภทบุตรบุญธรรม
บทความนี้จึงเป็นการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี เจตนารมณ์ของกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดกแทนที่ของผู้สืบสันดานในทางสายโลหิตโดยตรงกับผู้สืบสันดานประเภทบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งค้นคว้าแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และการตีความ บังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันซึ่งสิทธิในการรับมรดกแทนที่ของผู้สืบสันดานทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้นFull Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**