ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 30 คน จากโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีการจับสลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ 2) เว็บไซต์กิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินการเขียนสะท้อนความคิด 5) แบบสอบถามความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างวัตถุประสงค์กับเนื้อหาของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (คู่มือ) (IOC) = 1.00 2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ มีดังนี้ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ หลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.2) ผลการเขียนสะท้อนความคิด (ใบงาน) อยู่ในระดับดี ( = 8.48 , S.D. = 1.06) 2.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก ( = 4.47 , S.D. = 0.56)
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**