ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรง และคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 4 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตันและโรคไตวายเรื้อรัง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง และสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ จำนวนประชากรกลางปีและจำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ จำนวนการตายและจำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะของผู้ป่วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตของเพศชายและเพศหญิง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ และ เบี้ยประกันภัยโรคร้ายแรงที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท สำหรับแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่จ่ายเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงแต่ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต ระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี มีค่าระหว่าง 0.22 ถึง 7.95 บาท สำหรับระยะเวลาเอาประกันภัย 5 ปี มีค่าระหว่าง 1.06 ถึง 36.36 บาท และแบบผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่จ่ายเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงหรือเสียชีวิต ระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี มีค่าระหว่าง 0.63 ถึง 15.04 บาท สำหรับระยะเวลาเอาประกันภัย 5 ปี มีค่าระหว่าง 3.20 ถึง 71.79 บาท
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**