การพัฒนาแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช

ณัฐสักก์ เรืองสาอางค์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์
สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการที่มีต่อการพัฒนาแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช
2) เพื่อพัฒนาแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช 3) เพื่อหาคุณภาพของแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช 4) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จากผู้ใช้แผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อนการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลศิริราช ที่มีต่อแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราช ประชากรคือเจ้าหน้าที่ และผู้มาเข้ารับบริการภายในโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 200 คน และกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการภายในโรงพยาบาลศิริราช โดยการเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 30 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลสำรวจความต้องการพบว่าต้องการให้มีการจัดทำแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราชอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การพัฒนาแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราชมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากการใช้แผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราชแล้วพบว่ามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นแผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานที่สำคัญในโรงพยาบาลศิริราชที่สร้างขึ้นสามารถนาไปใช้ได้จริง


Keywords


แผนที่แบบมีปฏิสัมพันธ์บนอินเตอร์เน็ต; การประชาสัมพันธ์; โรงพยาบาลศิริราช

Full Text:

PDF

References


อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2519). การแปลความหมายจากแผนที่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : อุดมสิน.

ทวี ทองสว่าง. (2520). แผนที่และความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธวัช บุรีรักษ์. (2524). การแปลความหมายในแผนที่. กรุงเทพฯ : อักษรวัฒนา.

พินิจ ถาวรกุล. (2525). การอ่านและการใช้แผนที่ (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วิบูลย์ แมนสถิต. (2544). ภูมิศาสตร์กายภาพ. เอกสารประกอบการบรรยาย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

ราชวิทยาลัย นครพนม.

ลัดดา จิตต์ด่างวงศ์. (2542). เทคนิคและวิธีการทางภูมิศาสตร์. นครศรีธรรมราช : สถาบันราชภัฏ

นครศรีธรรมราช

บัลลังก์ ธนะสุนทร. (2514). วิชาภูมิศาสตร์เรื่องแผนที่. หนังสือประกอบการเรียนสังคมศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา

มาลีรัตน์ สมบัติ. (2530). หลักการทำแผนที่เฉพาะเรื่อง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์, (2553). สื่อประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรุงเทพฯ.

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา (2542). การประชาสัมพันธ์ ทฤษฎีและปฏิบัติ, บริษัท ธีระฤล์ม

และไซเท็กซ์ จำกัด. กรุงเทพฯ.

อภิชัจ พถกสวัสดิ์ (2556). การประชาสัมพันธ์เอนการสร้างภาพลักษณ์, หน้า 3-9)

มานิต เปนะนาม. (2551). การออกแบบสารสนเทศบนแผนที่สัมผัสสำหรับเด็กบกพร่องทางสายตา

โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2531). พระมหากรุณาธิคุณ ๑๐๐ ปี ศิริราช. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.