ข้อกำหนดกรุงเทพฯ กับการพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและอิทธิพลของข้อกำหนดกรุงเทพฯ ต่อการพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำในประเทศประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ และข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิทธิของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำอันมีที่มาจากข้อกำหนดกรุงเทพฯ
ผลการศึกษาพบว่าโครงการข้อกำหนดกรุงเทพฯ มีจุดเริ่มต้นจากประเทศไทยและได้รับการผลักดันไปสู่ความร่วมมือระดับระหว่างประเทศผ่านการประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 65 จนได้รับการยอมรับเป็น “ข้อกำหนดของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง” หรือ “ข้อกำหนดกรุงเทพฯ” และมีส่วนผลักดันทำให้เกิดการพัฒนา ด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ โดยในส่วนของประเทศไทยมีการพัฒนา 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านกายภาพของเรือนจำ 2. ด้านการปฏิบัติสำหรับผู้ต้องขังหญิง 3. ด้านความรู้ความเข้าใจของบุคลากรของเรือนจำ และ 4. ด้านงบประมาณในการดูแลผู้ต้องขังหญิง ยิ่งไปกว่านั้นในส่วนของการดำเนินการด้านต่างประเทศของประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) เพื่อติดตามผลและให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ แก่ส่วนราชทัณฑ์ของประเทศต่าง ๆ โดยในปัจจุบันสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยมีความร่วมมือกับประเทศอาร์เจนติน่าและประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับการพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.