หลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขายที่เหมาะสมกับความหลากหลายภายในองค์กร
Abstract
การศึกษาเรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมพนักงานขายที่เหมาะสมกับความหลากหลายภายในองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับความหลากหลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบหลักสูตรการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานขายประจำห้างสรรพสินค้า จำนวน 160 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การฝึกอบรมที่เหมาะสมกับความหลากหลาย คือ เรื่องความรู้ในตัวสินค้าโดยเฉพาะในพนักงานขายเพศหญิงและพื้นที่จำหน่ายนอกห้าง
2. เปรียบหลักสูตรการฝึกอบรมตามความหลากหลายด้านเพศโดยรวมต้องการฝึกอบรมความรู้
พื้นฐานในตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีผลในด้านยอดขาย ความก้าวหน้าของตำแหน่งงาน ทักษะในด้านงานขาย เทคนิคการเปิดและปิดการขาย การเพิ่มทักษะและความรู้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และการสร้างบุคลิกภาพที่ดี และด้านพื้นที่การขายโดยรวมมีความต้องการฝึกอบรมภาษาต่างชาติมีผลต่อการปิดการขาย ทักษะในด้านงานขาย เทคนิคการเปิดและปิดการขาย การเพิ่มทักษะ และความรู้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การสร้างบุคลิกภาพที่ดี
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กัลยรักษ์ จงสมชัย. (2546). ความต้องการการฝึกอบรมของพนักงานบริษัทเอ็กเซล (ประเทศไทย) จำกัด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ บุญเทียม. (2552). หัวข้อการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความก้าวหน้าตามความต้องการของ บุคลากรในสายงานขายของกลุ่มบริษัท เจียไต๋ จำกัด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.ธิดารัตน์ ประสารวรรณ. (2556). การขาย 1. เอกสารประกอบการสอน, วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี.
วิน เชื้อโพธิ์หัก. (2552). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สมชาติ กิจยรรยง. (2546). ขายอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
สุรเชษฐ์ งิ้วพรหม. (2550). ความต้องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาองค์กรของพนักงานบริษัทรวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Refbacks
- There are currently no refbacks.