การเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพที่ผลิตจากอัตราส่วนของวัสดุ และวิธีการที่ต่างกัน
Abstract
การวิจัยนี้ศึกษาคุณภาพของปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพที่ผลิตจากอัตราส่วนของวัสดุและวิธีการที่ต่างกัน โดยสูตร 1 ใช้เศษปลา:เศษผักผลไม้ ในอัตราส่วน 3:1 สูตร 2 ใช้อัตราส่วน 2:2 ส่วนสูตร 3 และ 4 ใช้อัตราส่วนของวัสดุเช่นเดียวกับสูตร 1 และ 2 ตามลำดับ แต่จะเริ่มเติมผักและผลไม้เมื่อการหมักเริ่มเข้าระยะที่ 2 หมักนาน 21 วัน พบว่า ตลอดระยะเวลาการหมัก ปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพมีอุณหภูมิ 28-32 ᵒC, pH 3.9-4.8, EC 17.8-24.1 dS/m, C:N ratio 9.13-20.26, 0.43-0.99% total N, 0.36-0.49% total P2O5, 0.51-0.84% total K2O, 0.6-10.1% Na, 0.079-0.275 mg/L As, <0.001 mg/L Cd, <0.004-0.02 mg/L Cr, 1.0-1.55 mg/L Cu,<0.014 mg/L Pb, <0.002-0.154 mg/L Hg, 2.62-5.36 mg/L Zn, และ 9.11-52.92 mg/L GA3 พบว่า ปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพที่ได้ส่วนใหญ่ (ยกเว้นสูตร 4) มีปริมาณสารอาหารหลักและปริมาณฮอร์โมนพืช GA3 มากกว่าค่ามาตรฐาน อัตราส่วนของวัสดุที่เหมาะสมคือ เศษปลา:เศษผักและผลไม้ เป็น 3:1 และควรเติมผักและผลไม้ เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการหมัก (วันที่ 7 ของการหมัก) จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ได้ปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพที่มีคุณภาพดีที่สุด ดังเช่นในปุ๋ยนํ้าหมักชีวภาพสูตร 3 ที่ได้จากการทดลอง
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2545). คู่มือการผลิตและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์นํ้า.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ กันยายน 12, 2556, จาก http://ag-ebook.lib.ku.ac.th/index.php/component/content/article/951.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2546). สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ พด.1 พด.2 พด.3 สำหรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตการเกษตร. เอกสารเผยแพร่อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2555, จาก http://e-library.ldd.go.th/library/Ebook/bib32.pdf.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2547). มาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่รับรองโดยกรมพัฒนาที่ดิน. มาตรฐานสินค้าที่ให้การรับรอง. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2552, จาก http://www.ldd.go.th/link_q/standard/4.htm.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). มีอะไรในปุ๋ยอินทรีย์นํ้า. เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน (สนท. 010008-2550). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 6, 2553, จาก http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_21.pdf.
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การขอขึ้นทะเบียน การออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน การขอแก้ไขรายการทะเบียน และการแก้ไขรายการทะเบียนปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2555. ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 59 วันที่ 29 มีนาคม 2555. หน้า 12-14. สืบค้นเมื่อ กันยายน 13, 2556, จาก http://www.doa.go.th/oic/images/7-4/704.01.15.55.pdf.
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). การใช้ที่ดินทางการเกษตร. สถิติข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 19, 2556, จาก http://www.agriinfo.doae.
ปิยนันท์ ชมนาวัง ชาญณรงค์ ชมนาวัง แก้วตา สูตรสุวรรณ มัลลิกา ธีรกุล และรัฐพล มีลาภสม. (2554). ผลของอีเอ็มต่อการผลิตปุ๋ยนํ้าชีวภาพจากนํ้าทิ้งโรงงานแป้งมันสำปะหลัง. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7. หน้า 408-413. มหาสารคาม: คณะเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ภูมิปัญญา อภิวัฒน์. (2549). การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ (IMO Process from Nature). สืบค้นเมื่อ กันยายน 15, 2556, จาก http://www.budmgt.com/agri/agri01/imo-processnature.
html.
ภิรมย์ สุวรรณสม. (2551). การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและกรดจิบเบอเรลลิก (จีเอ3) ในนํ้าหมักชีวภาพ.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีณารัตน์ มูลนัตน์. (2553). ประสิทธิภาพของนํ้าหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้นํ้ากากส่าเหล้าทดแทนกากนํ้า ตาลต่อการเจริญเติบโตของผักโขมผัก (Amaranthus tricolor) ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ (Brassica campestris var. chinensis) และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatic var.reptans). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรยั่งยืน ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์. (2545). การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้จากโรงงานแป้งมันสำ�ปะหลังเพื่อผลิตปุ๋ยนํ้าชีวภาพ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรธรรามชาติและสิ่งแวดล้อม) ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อภิญญา แสงสุวรรณ. (2546). การผลิตปุ๋ยนํ้าหมักจากขยะอินทรีย์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาปฐพีวิทยา ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Ngampimol, H. and Kunathigan, V. (2008). The study of shelf life for liquid biofertilizer from vegetable waste. Assumption University Journal of Technology. 11(40), 204-208.
Poincelot, Raymond P. (1979). A scientific examination of the principles and practice of composting. Compost Science 15(3), 21-31.
Sriwuryandari, L. and Sembiring, T. (2010). Liquid biofertilizer and compost from organic market waste. Teknologi Indonesia. 33(2), 86-91.
Uparivong, S. (2012). Bioclean and liquid biofertilizers a new way to the green area. International Journal of GEOMATE. 2(1), 144-147.
Refbacks
- There are currently no refbacks.