ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของประชากรในเขตอำเภอเมือง และอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

อรรพี ทัศนบริสุทธิ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านพฤติกรรมและด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของประชากรอำเภอเมืองและอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างคือประชากรอำเภอเมือง 340 คน และอำเภอดอนตูม 45 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และสังเกตวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ตารางแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Chi-square test และ t-test ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมโดยรวมในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของประชากรในอำเภอเมืองและอำเภอดอนตูมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p-value = 0.000) โดยพบว่าอำเภอเมืองมีพฤติกรรม โดยรวมตํ่ากว่าอำเภอดอนตูม ได้แก่ พฤติกรรมอนามัยขั้นพื้นฐาน พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมด้านสภาพแวดล้อม เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในอำเภอเมืองใช้พื้นที่ประกอบอาหาร เก็บอุปกรณ์การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน ขณะที่ไม่พบในอำเภอดอนตูม


Keywords


โรคอุจจาระร่วง; พฤติกรรมการป้องกัน; ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

Full Text:

PDF

References


กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานระบบเฝ้าระวัง 506. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม

, จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y55/d02_3455.pdf

_____. (2549). รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงในพื้นที่เสี่ยง. กรุงเทพฯ: กรมฯ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2552). การเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วง. นนทบุรี : โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

สมชาย สุพันธุ์วนิช. (2529). หลักระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2555, จาก

http://bps.ops.moph.go.th/Plan10/condition/Plan4-10.html

Borooah, K.V. (2004). On the incidence of diarrhea among young Indian children. Ecomomics and Human Biology 2: 119-138.

Curtis, V., Cairncross, S., Yonli, R. (2000). Domestic hygiene anddiarrhoea- pinpointing the problem. Trop. Med. Int. Health 5: 22-32.

Halvorson, S.J. (2004). Women’s management of the household health environment: responding to childhood diarrhea in the Northern Areas, Pakistan. Health & Place 10: 43-58.107(11): 1930-1934.

Redmond, E.C.and Griffith, C.J. (2003). Consumer food handling in the home: a review offood safety studies. Journal of Food Protection 66: 130–161.

Usfar,A.A., Iswarawanti,D.N., Davelyna, D. and Dillon, D. (2010). Food and Personal Hygiene Perceptions and Practices among Caregivers Whose Children Have Diarrhea: A Qualitative Study of Urban Mothers in Tangerang, Indonesia. Journal of Nutrition Education and Behavior 42: 33-40.

World Health Organization (1996). Basic Principles for the Preparation of Safe Food for Infants and Young Children. Retrieved November 2, 2013.from http://www.who.int/foodsafety/publications/consumer/en/infantfeeding.pdf


Refbacks

  • There are currently no refbacks.