รูปแบบและมาตรการแก้ปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์

ณรงค์ กุลนิเทศ

Abstract


          การวิจัยเรื่อง รูปแบบและมาตรการแก้ไขปัญหอาชญากรรมไซเบอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ รวมทั้งระบบการพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรมไซเบอร์ เพื่อสร้างรูปแบบและมาตรการในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และผ่านเครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Storytelling) 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. สภาพปัญหาของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สามารถแบ่งเป็นประเด็นสำคัญ คือ 1) ปัญหาด้านข้อกฎหมาย-ฐานความผิด-เขตอำนาจ-ใครต้องเป็นผู้รับผิด-ลักษณะพยาน 2) ปัญหาด้านเทคนิค -เทคนิคพัฒนาต่อเนื่อง-การศึกษา-เทคนิคในการเก็บหลักฐาน 3) แนวทางการปฏิบัติ -การประสานแนวทางปฏิบัติ ระหว่าง -ตำรวจ-อัยการ-ศาล4) วัฒนธรรม – วัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ

          2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่สำคัญ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และกฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และกำหนดกฎของระบบการพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรมไซเบอร์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) ความสมบูรณ์ของหลักฐาน 2) ระบุที่มาของหลักฐานได้ 3) บุคคลที่ดูแล หรือเก็บหลักฐานต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ และ 4) หลักฐานต้องได้รับการตรวจสอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย

          3. รูปแบบและมาตรการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ ที่สำคัญคือ การนำส่งวัตถุพยานในการตรวจพิสูจน์ทางอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น อย่าเปิดเครื่องอุปกรณ์ถ้าหากว่าเครื่องปิดอยู่ เป็นต้น ด้านมาตรการในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น ควรเร่งการออกกฎหมายให้ครอบคลุมการกระทำความผิดมากขึ้น เป็นต้น


Keywords


รูปแบบ; มาตรการในการแก้ปัญหา; อาชญากรรมไซเบอร์

Full Text:

PDF

References


นารี กิตติสมบูรณ์สุข. (2548). การแสวงหาพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลจากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอาชญากรรมคอมพิวเตอร์. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นัยนรัตน์ งานแสง. (2547). อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ : ศึกษาเฉพาะกรณีปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สินเลิศ สุขุม. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ. ปริญญาสังคมวิทยา

มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Guofu Ma, Zixian Wang, Likun Zou, Qian Zhang a*. (2011). Computer Forensics Model Based on Evidence Ring and Evidence Chain. The Central Institute for Correctional Police.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.