ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณสารตะกั่วในเลือดกรณีศึกษา: โรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ จ.สมุทรปราการ

วารุณี พันธ์วงศ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณสารตะกั่วในเลือดของพนักงานโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์แห่งหนึ่งจังหวัดสมุทรปราการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และผลการตรวจปริมาณสารตะกั่วในเลือดในรายงานผลการตรวจสุขภาพประจำปีรายบุคคลของพนักงานฝ่ายผลิต จำนวน 170 คน ผลการศึกษา พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษาคือประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น มีอายุงาน 1 – 5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษตะกั่วอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่า เพศชายและเพศหญิงมีปริมาณสารตะกั่วในเลือดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอายุงาน มีปริมาณสารตะกั่วในเลือด ไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคพิษตะกั่วกับปริมาณสารตะกั่วในเลือด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ ส่วนการจัดการนโยบายด้านความปลอดภัย พบว่า การที่บริษัทมีแนวทางในการคัดเลือกและจัดหาคนทำงานให้เหมาะสมกับงาน การจัดการทำงานตามความถนัดของพนักงาน ทำให้พนักงานมีปริมาณสารตะกั่วในเลือดแตกต่างกัน  และการที่พนักงานเคยได้รับความรู้เรื่องโรคพิษตะกั่วจากการประชาสัมพันธ์ทำให้พนักงานมีปริมาณสารตะกั่วในเลือดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Keywords


ปริมาณสารตะกั่วในเลือด; ความรู้เกี่ยวกับโรคพิษตะกั่ว; นโยบายด้านความปลอดภัย

Full Text:

PDF

References


กนกวรรณ ธาตุทำเล. (2556) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ศูนย์มะเร็งอุดร. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 3, 2556 จาก http://www.slideshare.net/doodeewa/ss-11792810

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2555) สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและ

อาชีวอนามัยของประเทศไทย 2555. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.(2540) ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง 2540. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จงดี วินิจจะกูล.(2540) พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษตะกั่วของผู้ใช้แรงงานในโรงงานแห่งหนึ่งในเขต นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จินตนา ศิริวราศัย และคณะ.(2544) ระดับตะกั่วในเลือดของกลุ่มคนงานอาชีพเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว. วารสารเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม. 3(1): 71-79

ชยันตร์ธร ปทุมานนท์ และชไมพร ทวิชศรี.(2544) การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับระดับตะกั่วในเลือดของคนงานที่สัมผัสตะกั่ว. กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุขภาพดี 47(2) : 47 – 53

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2556) แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณะสุข. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อตุลาคม 6, 2556 จาก http://team.sko.moph.go.th/index.php?option=com_myblog&show=2010-06-07-16-48-29.html&Itemid=67

ปรียานุช บูรณะภักดี,สสิธร เทพตระการพร,ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา. (2556). การตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคพิษตะกั่ว. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯเล่มที่22 สืบค้นเมื่อกันยายน 6, 2556 จาก http://guru.sanook.com/encyclopedia

พรทิพย์ เทียนทองดี,สายใจ พินิจเวชการ. การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบระบบการเฝ้าระวังโรคพิษตะกั่ว ในนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค

ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. (2547). ระบาดวิทยา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวดี เพ็ญไพบูลย์เสถียร.(2548) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารตะกั่วในเลือดของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเสี่ยงต่อโรคพิษตะกั่ว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยสารคาม

เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2541). วิทยาการระบาดสิ่งแวดล้อม. Environmental epidemiology.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2556) สถิติของโรคและการเจ็บป่วยจากการทำงาน.สืบค้นเมื่อกันยายน 6, 2556 จากwww.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/31710

สำนักระบาดวิทยา. (2556) สรุปรายงานสถานการณ์โรค Lead poisoning สืบค้นเมื่อกันยายน 6, 2556 จาก www.boe.moph.go.th/ANNUAL 2550/.../4950_MetalPoisoning.doc

โสภณ เอี่ยมศิริถาวร.(2556) หลักการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นเมื่อกันยายน 6, 2556 จากwww.boe.moph.go.th/files/meeting/sopon.pdf

American academy of pediatrics. (1987) Committee on environmental hazards. Statement on childhood lead poisoning. Pediatrics 1987; 70:457-465.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.