บทบาทของ พรบ. สุรา 2493 กับการเกิดคราฟท์เบียร์ในประเทศไทย

จิรัฏฐิกา ชินบุตร, เกรียงไกร เตชกานนท์

Abstract


งานศึกษาชิ้นนี้เป็นการวิเคราะห์ถึงอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของคราฟท์เบียร์ในประเทศไทยโดยอยู่ภายใต้ พรบ. สุรา 2493 อันเป็นกฎหมายหลักในการควบคุมการผลิตรวมถึงการจัดจำหน่ายเบียร์ในประเทศไทยโดยอาศัยทฤษฎีตลาดผู้ขายร้อยราย(Oligopoly)ทฤษฎีการกระจุกตัว(Concentration Theory) ซึ่งความนิยมของเบียร์นำเข้ามีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เกิด  กระแสของเบียร์ทำมือหรือเบียร์จากผู้ผลิตรายเล็กที่เรียกว่าคราฟท์เบียร์ที่เป็นประเด็นปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันซึ่งคราฟท์เบียร์ไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2544 และยังไม่ถูกกฎหมายในแง่การผลิตเพื่อจำหน่ายตาม พรบ. สุรา 2493 หากเปรียบเทียบกับ สุราพื้นเมืองอย่างอื่นเช่น สาโท น้ำตาลเมา กระแช่ ที่รัฐอนุญาตให้เกิดได้อย่างมีเงื่อนไขเช่นการครอบครองเครื่องจักร โรงงานต้องมีกำลังรวมไม่เกิน 5 แรงม้า  ใช้คนงานได้ไม่เกิน 7คน รวมไปถึง ผู้ขออนุญาตก่อสร้าง โรงงานสุรารายใหม่จะต้องเป็นสหกรณ์การเกษตรเท่านั้น เนื่องจากรัฐเล็งเห็นว่าประเทศไทยได้ทำข้อตกลงภายใต้องค์กรการค้าโลกเรื่องการค้าเสรีที่จะต้องเปิดการค้าเสรีสุราเพื่อให้เกิดการแข่งขันไม่ให้ผูกขาดเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นของสุราพื้นเมืองหมดไป ซึ่งหากมองย้อนกลับไปที่คราฟท์เบียร์ ซึ่งยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย อันเนื่องจากหลักเกณฑ์บางส่วนใน พรบ. สุรา 2493 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายเบียร์ โดยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตในการผลิตเบียร์ ผู้ขออนุญาตจะต้องวางหลักประกันต่อกรรมสรรพสามิตในขณะยื่นคำขออนุญาตเป็น จำนวนเงิน 5 ล้านบาทโดยเป็นเงินสดหรือพันธบัตรของรัฐบาลโดยหลักประกันนี้จะคืนให้ต่อเมื่อกรม สรรพสามิตได้พิจารณาคำขออนุญาตแล้วเสร็จ นอกจากนั้นผู้ขออนุญาตจะต้องมีทุนในการจดทะเบียนเพื่อทำกิจการผลิตเบียร์ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทโดยปริมาณการผลิตจะต้องไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน ลิตรและไม่เกิน 100 ล้านลิตรต่อปี ผลการศึกษาในเชิงข้อมูลทางเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์จำนวน3 รายใหญ่ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563เพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการผลิตคราฟท์เบียร์ภายใต้เงื่อนไขของ พ.ร.บ. สุรา 2493 ในเรื่องของปริมาณการผลิตและเงินลุงทุนในอุตสาหกรรมคราฟท์เบียร์ขนาดเล็กซึ่งเป็นอุปสรรคในการเกิดผู้ผลิตรายเล็กในประเทศไทยและพบว่าจัดเก็บภาษีมีผลต่อการทำให้โครงสร้างตลาดเบียร์ในประเทศไทยเกิดการผูกขาดที่มีผู้ขายน้อยรายรวมไปถึงเกิดการกระจุกตัวที่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้นที่สามารถลงทุนในโครงสร้างการผลิตเบียร์ดังที่ พรบ. สุรา 2493 ได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน สุราแต่ละชนิดคิดอัตราภาษีไม่เท่ากัน ในการขึ้นภาษีแต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน ซึ่งผู้ผลิตก็หันไปผลิตสุราชนิดที่เก็บภาษีต่ำแทนสุราที่เก็บภาษีสูง ซึ่งการขึ้นภาษีไม่ได้ช่วยลดการดื่ม เพราะสุราชนิดหนึ่งมีราคาแพงแต่ก็ยังมีสุราอีกหลายชนิดที่มีราคาถูก สุราบางชนิดเช่นเบียร์ยังมีการแบ่งเกรดของราคาขายสุดท้ายออกเป็น 3 เกรด คือ เกรดต่ำ (Economy) เกรดกลาง (Standard) เกรดสูง (Premium)  โดยกำหนดราคาต้นทุนโรงงานไม่เท่ากัน เบียร์เกรดสูงราคาโรงงานแพงกว่าก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า เบียร์เกรดต่ำราคาโรงงานถูกกว่าก็จะเสียภาษีน้อยกว่า เมื่อการขึ้นภาษีแต่ละครั้งเบียร์เกรดสูงก็จะขึ้นภาษีสูงกว่า ในขณะเดียวกันเบียร์เกรดต่ำก็มีการขึ้นภาษีตามกันแต่ราคาขายสุดท้ายที่ผู้บริโภคได้รับก็ยังถูกกว่า การขึ้นภาษีจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผลักให้ผู้ดื่มเบียร์เกรดสูงหันไปดื่มเบียร์เกรดต่ำแทนมากขึ้นเนื่องจากเป็นเบียร์ลาเกอร์เหมือนกันรสชาติไม่ได้แตกต่างกันมาก  ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเบียร์เกรดสูงดรีกรีต่ำ เบียร์เกรดต่ำดีกรีสูง ผู้ผลิตจึงเน้นผลิตเบียร์เกรดสูงคือเบียร์ดีกรีต่ำเพื่อที่จะได้เสียภาษีถูกลงนั้นเอง และเป็นการบ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของบริษัทว่าผลิตเบียร์ที่มีเกรดสูงคุณภาพดี แต่แท้จริงแล้ว การผลิตเบียร์เกรดสูงดีกรีต่ำนั้นเหตุผลของผู้ผลิตคือการการผลิตที่เยอะและเสียภาษีปริมาณลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ที่ถูกลงนั้นเอง ทำให้เกิดการแข่งขันทางการผลิตที่ไม่เป็นธรรมเพราะไม่ได้แข่งขันตามกลไกลตลาดที่แท้จริงด้วยเหตุนี้การขึ้นภาษีจึงไม่ได้ทำให้ผู้ดื่มลดน้อยลง เพราะการวัดอัตราการดื่มตามมาตรฐานสากลไม่ได้นับเป็นขวดหรือการคิดภาษีแบบมูลค่าแต่เป็นการคิดภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เก็บภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์เช่นกัน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**