การตรวจหาปริมาณฟอร์มาลีนในผักสดตลาดนัดซอย 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ญาตาวี ภิญโญ, นันทกรฉัตร เอ่งฉ้วน, มณฑ์ศิริ เขียวสัมฤทธิ์, กีรติ กุลวานิชไชยนันท์, อรอนงค์ คงจรรักษ์

Abstract


ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมารับประทานผักสดมากขึ้น เนื่องจากผักสดมีประโยชน์และโภชนาการที่ดี
ต่อร่างกาย แต่ปัญหาที่พบเจอคือ การคงสภาพความสดไว้ได้ไม่นาน ด้วยสาเหตุนี้ได้นำสารฟอร์มาลีนมาใช้ในการคงสภาพความสดในผักสด ถ้าได้รับในปริมาณที่มากจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้นผู้วิจัยได้สนใจการศึกษาการตรวจหาปริมาณสารปนเปื้อนฟอร์มาลีนในผักสด จากตลาดนัดซอย 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการใช้ชุดทดสอบฟอร์มาลีน Formalin test-kit ในการตรวจหาสารปนเปื้อนฟอร์มาลีน ผลพบว่า สีที่ได้จากการทดสอบเป็นสีเขียว-เหลืองซึ่งไม่พบการปนเปื้อนของฟอร์มาลีน 14 ชนิด ได้แก่ ดอกกะหล่ำ แตงกวา มะเขือเทศ บล็อกโคลี่ ถั่วงอก ผักกาดขาว หัวไชเท้า ผักบุ้ง บวบ กวางตุ้ง แครอท คะน้า ถั่วฝักยาว และกะหล่ำปลี ศึกษาค่าการดูดกลืนแสงของสารปนเปื้อนของฟอร์มาลีนในผักสด ด้วยเครื่อง UV-Visible Spectrophotometer เพื่อยืนยันการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีน วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นในช่วง 310 – 700 นาโนเมตร พบว่ามีค่าการความยาวคลื่นสูงสุดเฉลี่ยที่ 370 นาโนเมตร และมีค่าการดูดกลืนแสงเฉลี่ยที่ 0.396 พบว่าสเปกตรัมค่าการดูดกลืนแสงของฟอร์มาลีนในผักสดทั้ง 14 ชนิด ไม่พบสเปกตรัมที่ความยาวคลื่นเดียวกันกับสเปกตรัมของฟอร์มาลีน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**