กลยุทธ์ส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร

ตริตาภรณ์ หมู่ผึ้ง, นุกูล แดงภูมี

Abstract


ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการแสดงดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความคิดเห็นของนักดนตรีไทย 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้จัดงานที่มีต่อการจ้างงานนักดนตรีไทย 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม ที่มีต่อการแสดงดนตรีไทย 4) เพื่อสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกนักดนตรีไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ราย และทำ
การสัมภาษณ์ผู้อำนวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 1 ราย ส่วนข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณได้ทำการแจกแบบสอบถามแก่นักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้นั้น ผู้วิจัยได้ใช้การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการชมการแสดงดนตรีไทย จากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)

จากผลการวิจัยทั้งในส่วนข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสามารถกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย C (Create Story) หมายถึง การสร้างเรื่องราว C (Creative Work) หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ C (Character) หมายถึง ภาพลักษณ์ที่ดูดี C (Create Option) หมายถึง สร้างองค์ประกอบที่เหมาะสม และ C (Collaboration) หมายถึง การร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ข้อนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยสามารถสรุปกรอบแนวคิดกลยุทธ์ส่งเสริมดนตรีไทยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้เป็นกลยุทธ์ “5 C”


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**