ความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสลากออมสินและสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสลากออมสินและสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบกับการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าไคสแควร์ และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม (t-statistic) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26 – 45 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท มีเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ร้อยละ 6 - 10 ของรายได้ และมีระยะเวลาการเป็นลูกค้าธนาคาร 1-5 ปี ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อสลาก ได้แก่ อาชีพ วัตถุประสงค์ในการซื้อสลาก ราคาสลากที่ต้องการเลือกซื้อ และผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ ส่วนปัจจัยที่มีความแตกต่างในการตัดสินใจเลือกซื้อสลาก ได้แก่ การได้รับรางวัลธนาคารดีเด่น การปิดการจำหน่ายสลากเมื่อครบจำนวน และการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เช่น social network
สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ธนาคารออมสินควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สลากให้มีจำหน่ายตลอดเวลาFull Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**