ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุขแท้ตามความเป็นจริง

สิริกร อมฤตวาริน

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถกคำถามทางปรัชญาว่า “มนุษย์จะได้ความสุขแท้จากการประพฤติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่”โดยใช้วิภาษวิธีและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผลการวิจัยพบว่าฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เห็นด้วยแสดงเหตุผล 3 ข้อว่าการประพฤติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ให้สุขแท้เพราะความสุขที่มนุษย์แสวงหานั้นมีหลากหลายและมนุษยนิยมชี้ว่าไม่มีความสุขใดเป็นความสุขสูงสุด ทุกความสุขมีคุณค่าเท่ากันได้แก่ 1) ความสุขสะดวกสบาย 2) ความสุขในการได้ผลประโยชน์ 3) ความสุขในการดำรงวงศ์ตระกูลซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดูเหมือนจะไม่ได้ส่งเสริมความสุขเช่นนี้เลยผู้วิจัยวิจารณ์เหตุผลฝ่ายตรงข้ามว่ามีจุดอ่อนอย่างสำคัญคือ การตีความความสุขแท้ซึ่งมีความหมายมากกว่า ความสุขในด้านต่างๆ ที่เข้ากันได้โดยทั่วไปตามมนุษยนิยมและจิตวิทยาโดยชี้ถึงผลเชิงลบของการมุ่งสู่ความสุขไม่แท้ในแต่ละด้าน 1) ความสุขสะดวกสบายนำไปสู่ความเกียจคร้านและทำให้เกิดทุกข์ทั้งทางกายและอารมณ์ได้ 2) ความสุขผลประโยชน์นำไปสู่การเอาเปรียบความเห็นแก่ตัวและทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ 3) ความสุขดำรงเผ่าพันธุ์นำไปสู่ความหลงในกามจนเกิดปัญหาในสังคม ระดับคุณภาพของความสุขอารักขายีนยังทำให้เกิดการเข้าข้าง การช่วยเหลือพวกพ้องและการปกป้องพวกพ้องซึ่งกล้าบ้าบิ่นและรุนแรงไปเป็นความขัดแย้งและสงครามได้ 4) ระดับคุณภาพของความสุข สำหรับมนุษย์ที่จะเป็นความสุขแท้ได้จึงเป็นความสุขตามสัญชาตญาณปัญญาซึ่งปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคชี้ว่าความสุขแท้เกิดได้จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นคำตอบวิจัยคือ มนุษย์จะได้ความสุขแท้จากการประพฤติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยผู้วิจัยเสนอเหตุผลสนับสนุนคำตอบของผู้วิจัยว่า 1) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาจริยะที่เน้นให้รู้จักบริหารสัญชาตญาณในระดับรองลงมาเพื่อให้มนุษย์ได้มีความสุขในระดับพอเพียง และให้เกิดความสุขสูงสุดแก่สัญชาตญาณปัญญา 2) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตีความด้วยปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุคจึงจะเน้นการสร้างสรรค์ การปรับตัว การร่วมมือและการแสวงหาซึ่งนำไปสู่การมีพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้มีความสุขที่มีคุณภาพที่ดีมากขึ้นไปเรื่อยๆ 3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยเมตตาย่อมทำให้เกิดความสุขแท้คือ การมีความสุขบนความสุขของผู้อื่นซึ่งเป็นคุณค่าร่วมในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชนและประเทศ 4) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการกำกับความประพฤติด้วยองค์ประกอบคุณธรรม 4 ด้าน ย่อมทำให้มนุษย์ประพฤติตามแนวทางสายกลางเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ได้อย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ของการวิจัยนี้จะช่วยแสดงคุณค่าที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสามารถนำไปให้เป็นความรู้แก่ประชาชนทุกระดับผ่านทีมสอน (teaching)กับทีมอบรม (educating) คือสอนให้มีความรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื้อหาเชิงวิชาการ หลักปรัชญาและการตีความตัวบทหลักปฏิบัติด้วยคุณธรรม 4 หลักเมตตา และกระบวนทรรศน์หลังนวยุคเมื่อประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจแล้ว ก็ควรที่จะมีการอบรมให้เขาประพฤติดีได้จนเป็นนิสัยตลอดชีวิตโดยเน้นการสร้างสรรค์การปรับตัว การร่วมมือและการแสวงหาตามแนวทางปรัชญาหลังนวยุคผลของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงจะเป็นไปในเชิงรุกต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้เป็นความผาสุกของประเทศและของโลกได้


Keywords


ความสุขแท้; เศรษฐกิจพอเพียง; เมตตา

Full Text:

PDF

References


กีรติ บุญเจือ. (2556). ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม รวมศีลธรรมในประเทศไทยจากมุมมองของแซมมวล ฮันติงตัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กีรติ บุญเจือ. (2546). เริ่มรู้จักปรัชญา เล่ม1ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พระธรรมปิฎก. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ,เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดัก.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2540). แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ:21 เซ็นจูรี.“กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. ใน สารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2557 จากhttp://www.haii.or.th/wiki84/index.php/พระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Bury, J.B. (1913). A history of freedom of thought. Cambridge: Henry holt& co.

Bauman, Z. (1996). Postmodern ethics. Cambridge: Blackwell.

Bentham, J. (2010). An introduction to the principles of morals and legislation.New York: LULU Press.

Craig, E. (1998). Routledge encyclopedia of philosophy. London: Routledge.

Hampton, J. (1986). Hobbes and the Social Contract Tradition. Cambridge: Cambridge University Press.

Maslow, A.H. (1943). A theory of human motivation.Psychological Review, 50(4), 370–96. Retrieved from ttp://psychclassics.yorku.ca/Maslow/motivation.htm

Taylor, V.E. &Winquist, C.E. (2001). Encyclopedia of postmodernism. London: Routledge.

Terence, I. (2007). The Development of ethics, 1, Oxford: Oxford University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง