ผลกระทบของการสื่อสาร การสนับสนุน และวัฒนธรรมองค์กรต่อการรับรู้ SDGs: กรณีศึกษาในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ

นิรมล วงศ์ษา, สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการสื่อสารภายในองค์กร การสนับสนุน จากองค์กร และวัฒนธรรมองค์กรต่อการรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยใช้กรณีศึกษาในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ มีกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสะดวก จำนวน 580 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Google Form) เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ) ผลการศึกษาพบว่า 1) การสื่อสารภายในองค์กรมีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้าน SDGs ร้อยละ 81.6 โดยด้านความพึงพอใจในการสื่อสาร ด้านความสมบูรณ์ของสื่อ และด้านการสื่อสารภายในองค์กรส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. 2) การสนับสนุนจากองค์กร มีอิทธิพลร้อยละ 86.8 จากด้านการแลกเปลี่ยน ทางสังคม ด้านการรับรู้การสนับสนุน และด้านการยอมรับการสนับสนุนมีผลสำคัญต่อการรับรู้ด้าน SDGs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05. 3) วัฒนธรรมองค์กร มีอิทธิพลร้อยละ 96.5 โดยด้านวัฒนธรรมองค์กรแบบญี่ปุ่น ด้านแนวคิดค่านิยมที่แข่งขันกัน และด้านโมเดลการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมส่งผลต่อการรับรู้ด้าน SDGs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.