พฤติกรรมการรับมือแผ่นดินไหวของประชาชนในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กาญจนา ปินตาคำ, พัชรินทร์ วินยางค์กูล, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, ธนพนธ์ คำเที่ยง

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับมือแผ่นดินไหวของประชาชนในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามพฤติกรรมการรับมือแผ่นดินไหวของประชาชนที่พัฒนาโดยผู้วิจัย นำมาหาความเที่ยง หาค่าความตรงและความเชื่อมั่น เท่ากับ .91  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 247 คน (ร้อยละ 61.75)                        อายุระหว่าง 46 - 60 ปี จำนวน 179 คน (ร้อยละ 44.75) อาศัยอยู่ในบ้านตนเอง จำนวน 351 คน (ร้อยละ 87.75) เป็นบ้านปูนชั้นเดียว จำนวน 201 คน (ร้อยละ 50.25) มีประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 312 คน (ร้อยละ 78.00) ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง จำนวน 171 คน (ร้อยละ 54.80) ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดรอยร้าวตามผนังบ้าน จำนวน 212 คน (ร้อยละ 67.94) พบว่าเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะออกไปอยู่ที่โล่งแจ้ง จำนวน 177 คน (ร้อยละ 56.73) มีพฤติกรรมการรับมือกับแผ่นดินไหวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.64, S.D. = 0.94) จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.30

          ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการสาธารณภัยเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อันจะเป็นการช่วยลดผลกระทบที่ส่งผล              ต่อชีวิตได้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.