การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดี ในการใช้บริการการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมือถือของกลุ่มวัยทำงาน
Abstract
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมือถือของกลุ่มวัยทำงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างคุณภาพการบริการ การใช้งานง่าย และภาพลักษณ์แอปพลิเคชัน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมือถือของกลุ่มวัยทำงาน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนด้วยแบบสอบถามทางออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินโมเดลเชิงโครงสร้างด้วยวิธีตัวแบบสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) วิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ADANCO 2.2.1
ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อตัวแปรชี้วัดทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ระดับดี (3.50-4.49 คะแนน) โดยลำดับสูงสุด คือ การแสดงผลทางหน้าจอของแอปพลิเคชันมีความเร็วในการโหลดเป็นที่น่าพอใจ การพิจารณาคุณภาพแบบจำลองโดยรวม ค่า SRMR ที่ได้เท่ากับ 0.0693 นับว่าแบบจำลองมีความกระชับหรือกลมกลืนดีเพราะค่าที่ได้ต่ำกว่า 0.08 การประเมินโมเดลเชิงโครงสร้างค่า loading ที่ได้ตั้งแต่ 0.6315-0.9224 และมีค่า AVE เฉลี่ยสูงกว่า 0.5 หรือเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาคุณภาพสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) ค่า R2 ของความพึงพอใจของผู้บริโภค การกลับมาใช้ซ้ำ และการบอกต่อ มีค่าเท่ากับร้อยละ 35.9, 50.7 และ 51.7 ตามลำดับ ค่าผลกระทบ F2 มีค่าตั้งแต่ 0.1028 ถึง 1.0265 โดยความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งที่สุดมีค่า F2 เท่ากับ 1.0265 คือเส้นทางความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำ มีการยอมรับสมมติฐานทั้ง 5 ข้อ คือ 1) คุณภาพการบริการ การใช้งานง่าย และภาพลักษณ์ของแอปพลิเคชัน มีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมือถือในกลุ่มวัยทำงาน (p≤0.0) และ 2) ความพึงพอใจมีอิทธิพลทางบวกต่อการกลับมาใช้ซ้ำและการบอกต่อของผู้บริโภค (p≤0.0)Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.