การวิเคราะห์คุณลักษณะของฉลากผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร
Abstract
งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคตัวอย่างที่เคยซื้อผักอินทรีย์ในซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 180 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภค ส่วนมากใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-35 ปี สถานภาพโสด อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,000-30,000 บาทต่อเดือน รายได้ต่อครัวเรือนอยู่ระหว่าง 40,000 - 50,000 บาทต่อเดือน ประกอบอาหารเอง ความถี่การซื้อผักอินทรีย์ในซูเปอร์มาร์เก็ตน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนเหตุผลที่มาซื้อผักในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะผักปลอดภัยและเชื่อว่าผักได้รับมาตรฐานความปลอดภัย โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้ง 100-300 บาท ซื้อผักที่อยู่ในช่วงราคา 30-60 บาทต่อแพ็ค โดยน้ำหนักแพ็คละ 150-300 กรัม จากการวิเคราะห์ผ่านแบบจำลองคาโนพบว่า คุณลักษณะที่ดึงดูดใจผู้บริโภค (Attractive) ประกอบด้วย ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศและต่างประเทศ รหัสสอบกลับ บาร์โค้ดวัดความสดใหม่ และข้อมูลโภชนาการ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่มผู้บริโภคที่แบ่งตามระดับรายได้ อายุและระดับการศึกษาก็ให้ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของฉลากผลิตภัณฑ์ผักอินทรีย์ที่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยในครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะแก่ ผู้ประกอบการที่ต้องการจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการควรเพิ่มคุณลักษณะดึงดูดใจผู้บริโภค (Attractive) ในฉลากผักอินทรีย์เพราะจะทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจเมื่อเห็นคุณลักษณะเหล่านี้ในฉลาก
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.