สมบัติทางกายภาพของเส้นใยมะพร้าวอ่อนภายหลังการปรับปรุงคุณภาพด้วยเอนไซม์เซลลูเลส

กษิดิส รัตนภรณ์, สาคร ชลสาคร, อัษฎาวุธ อารีสิริสุข

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพเส้นใยมะพร้าวอ่อนและทดสอบสมบัติทางกายภาพของเส้นใยมะพร้าวอ่อนที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยเอนไซม์เซลลูเลส วิธีการวิจัย คือ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพเส้นใยมะพร้าวอ่อน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Factorial in CRD) ปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ความเข้มข้นของเอนไซม์เซลลูเลส แปรผันเป็น 3 ระดับ คือ 10 20 และ 30 FPU/g และเวลาในการย่อย แปรผันเป็น 3 ระดับ คือ 2 4 และ 6 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบสมบัติทางกายภาพประกอบด้วย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใย ปริมาณความชื้น และร้อยละของเส้นใยมะพร้าวอ่อนที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาเคมี วิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance, ANOVA) และความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test เพื่อคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพเส้นใยมะพร้าวอ่อน ผลการศึกษาพบว่า สภาวะความเข้มข้นของเอนไซม์ 20 FPU/g เวลาในการย่อย 4 ชั่วโมง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใย คือ 110.32 ไมโครเมตร ค่าปริมาณความชื้น คือ ร้อยละ 8.13 และค่าร้อยละของเส้นใยมะพร้าวอ่อนที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ ร้อยละ 91.74 เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุด เพราะทำให้เส้นใยมะพร้าวอ่อนมีสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายและช่วยประหยัดเอนไซม์เซลลูเลสและเวลาในการย่อยมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยมะพร้าวอ่อนก่อนการปรับปรุงคุณภาพเส้นใย พบว่า เส้นใยมะพร้าวอ่อนภายหลังการปรับปรุงคุณภาพมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลงทำให้สามารถนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายได้ง่ายขึ้น มีค่าปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการระบายอากาศทำให้สวมใส่รู้สึกสบาย และมีค่าร้อยละของเส้นใยมะพร้าวอ่อนที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาเคมีอยู่ในระดับที่สูง จึงเหมาะสมในการนำไปผลิตเป็นเส้นด้าย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.