ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สันติ เลิศไกร, นัทนิชา หาสุนทรี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ และความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติและความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญในหน่วยงานส่วนกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 202 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับผ่านระบบออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจำนวน 5 คน และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติทุกด้านและความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0
ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน พบว่า บุคลากรภายในองค์กรที่มีเพศ รายได้ต่อเดือนและระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรภายในองค์กรที่มีอายุ ประเภทตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 2 ปัจจัย คือ ด้านลักษณะองค์การและด้านการสื่อสาร สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ข้อสรุปการสัมภาษณ์มีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.