การทดสอบแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐานแนวคิด เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐานแนวคิด เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐาน คือ สิ่งที่วัดเชิงเส้นตรงประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยจัดเรียงตัวตามโครงสร้างจากระดับง่ายไประดับยาก งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งได้ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 3 ห้องเรียน เพื่อเก็บข้อมูลจากนักเรียน 115 คน ภายใต้ขั้นตอนการวิจัยตามกรอบของ The Bear Assessment System ซึ่งมี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การร่างแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐานโดยการวิเคราะห์หลักสูตร หนังสือเรียน ตรวจสอบวรรณกรรมเกี่ยวกับแนวคิดคลาดเคลื่อนและจัดระดับตาม SOLO taxonomy 2) การออกแบบเครื่องมือ ผู้วิจัยทำการสร้างและใช้แบบทดสอบชนิดอัตนัย เพื่อวัดแนวคิด เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการวัดความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน 3) การระบุรูปแบบหรือแบบแผนการตอบคำถาม ผู้วิจัยสร้างเกณฑ์การให้คะแนนของแบบทดสอบชนิดอัตนัยโดยกำหนดให้ในแต่ละข้อไม่เท่ากัน และ 4) การเลือกโมเดลการวัดและทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยได้เลือก Rasch Polytomous Model แบบ Partial Credit Model วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรม R และเมื่อนำไปเปรียบเทียบความสอดคล้องกับแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐาน พบว่า สอดคล้องกลมกลืนกัน คือ แนวคิดเกี่ยวกับสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นแนวคิดง่าย และหลักการสำคัญในระดับปฏิกิริยาชีวเคมีของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช กลไกในการเพิ่มความเข้มข้นของ CO2 ของพืช C4 และพืช CAM และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นแนวคิดยาก ซึ่งแผนที่นี้มีประโยชน์ต่อครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียน หลักสูตรและการประเมิน
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.