คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

สรวัสส์ บุญหยง, สินอาด โกศลานันท์

Abstract


การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินลูกรังในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีได้จากการทดสอบตัวอย่างดินลูกรังจากพื้นที่เชิงเขา 11 แห่งในจังหวัดจันทบุรี การทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อหาคุณสมบัติของดินเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหากำลังแบกทานของดินเพื่อการออกแบบฐานรากเบื้องต้นและพิจารณาความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุทาง ประกอบด้วย การจำแนกชนิดของดิน การทดสอบซีบีอาร์ การทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบโดยตรง และการทดสอบการบดอัด จากผลการทดลองดินลูกรังตัวอย่างถูกจำแนกชนิดของดินตามระบบเอกภาพอยู่ในกลุ่ม CL ML MH SC และ SM และ ถูกจัดในระบบ AASHTO อยู่ในกลุ่ม A-6 A-7-5 และ A-7-
6 มีความหนาแน่นตามธรรมชาติระหว่าง 1.44-1.78 t/m3 ความชื้นอยู่ระหว่าง 8.2%-20.2% ค่าขีดจำกัดเหลวอยู่ระหว่าง 20.8%-64.8% ค่าขีดจำกัดพลาสติกอยู่ระหว่าง 14.3%-35.5% ดินลูกรังบดอัดมีความหนาแน่นแห้งสูงสุดอยู่ระหว่าง 1.41- 1.91 t/m3 และ ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 13.6%-26.0% สำหรับการทดสอบการบดอัดแบบมาตรฐาน และ ความหนาแน่นแห้งสูงสุดอยู่ระหว่าง 1.76- 2.07 t/m3 และ
ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 9.9%-17.3% สำหรับการทดสอบการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน มุมความเสียดทานอยู่ในช่วง 22.0 – 38.0 องศา และมีความเชื่อมแน่นอยู่ในช่วง 1.0 - 3.0 t/m2 มีค่าซีบีอาร์ อยู่ระหว่าง 1-47 เปอร์เซนต์ ดินลูกรังทุกแห่งมีส่วนละเอียดมากกว่า 20% ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุทางวิศวกรรมทาง เช่นชั้นพื้นทางหรือชั้นรองพื้นทางได้ ก่อนการนำไปใช้ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพก่อนนำไปใช้งานทางวิศวกรรม การหากำลังแบกทานของดินเพื่อการออกแบบฐานรากในเบื้องต้นหาได้จากการนำคุณสมบัติของดินลูกรังที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการมาแทนค่าในชุดสมการหากำลังแบกทานของดิน


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.