แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรม
นันทนาการสำ�หรับผู้สูงอายุ ตำ�บลหลักหก อำ�เภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วม
ของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำ�หรับผู้สูงอายุ 3) ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ และ 4) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัด
กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ผู้สูงอายุ ในหมู่ 2 ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบเลือกตอบ แบบมาตรประมาณค่าและคำถามปลายเปิดสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ในการศึกษาเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 8 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการวางแผนจัดกิจกรรม ด้านการดำเนิน
การจัดกิจกรรม ด้านการได้รับประโยชน์ และด้านการประเมินผลอยู่ในระดับน้อยในทุก ๆ ด้าน 2) ปัญหา
การมีส่วนร่วมเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการจัดสรรเวลา ปัญหาด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้
ผู้สูงอายุยังไม่ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ของตนในการเข้ามามีส่วนร่วม 3) ความต้องการในการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยในทุก ๆ ด้าน และ 4) แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการมีส่วนร่วม จัดเวทีที่ผู้สูงอายุสามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความต้องการ (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดกิจกรรม ได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องขั้นตอนการจัดกิจกรรม ให้ชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนในการกระจายหน้าที่และความรับผิดชอบไปยังผู้สูงอายุตามความสามารถ และความสมัครใจ (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับประโยชน์ ได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนถึงประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากการมีส่วนร่วม จัดประชุมเพื่อรายงานงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม และ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนเรื่องการประเมินผล และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลและการเก็บรวบรวมเอกสารการประเมินผล
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ฉลอม กุลนอก. (2555). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา
พระธาตุขามแก่น ตำบลบ้านขาม อำเภอนํ้าพอง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระปริญญา
ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของ
ชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพยา เศรษฐพัฒน์. (2553). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดโคยกี้
อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์ และกัมปนาท บริบูรณ์. (2554). การเรียนรู้ของผู้เรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญาและหลักการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หน่วยที่ 6 หน้า 73-74 และหน้า 82. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภาณุ อดกลั้น. (2551). ทฤษฎีการสูงอายุ. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม, 8, 2556 จาก http://www.bcnu.ac.th/bcnu.
อำนาจ สุนทรธรรม. (2545). แนวทางการให้ชุมชนมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. (pp. 6).Cornell University
Refbacks
- There are currently no refbacks.