ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

นาถธิดา เจริญสุข

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 2) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 อันดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา การนำกลยุทธ์ของสถานศึกษาไปปฏิบัติ และการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ของสถานศึกษา 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การพัฒนาความเป็นองค์การวิชาชีพในสถานศึกษา การบริหารงานของสถานศึกษากับบรรยากาศและวัฒนธรรมของสถานศึกษา ซึ่งทั้งคู่มีค่าเฉลี่ยเท่ากันและ 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวก อยู่ในระดับสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


Keywords


การบริหารเชิงกลยุทธ์; องค์การแห่งการเรียนรู้

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศกราช2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จอมพงศ์ มงคงพานิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:

วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.

เนตร์พัณนา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

ปิติพงษ์ วรรณรี. (2551) . ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต1.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เพ็ญพิชชา โคตรชาลี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วิเชียร เวลาดี. (2547). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). โรงเรียนการบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :

ทิพย์วิสุทธิ์.

________. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

สมคิด สร้อยนํ้า. (2547). การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมยศ นาวีการ.(2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์ Strategic Management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิด และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรัตน์ ดวงชาทม. (2549). การพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมรรัตน์ เถื่อนทอง. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Chandler, J.R. Alfred D. (1962). Strategy and Structure Cambridge. Mass.; TheM.I.T.pess.

Krejcie, R.V. and Earyle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activites.

Jourmal of Educational and Planning for basic Needs. Great Britain : Black more Press.

Luthans, F. (2000). Organizational behavior. 8thed. Boston : Irwin / McGraw - Hill.

Marquardt, M.J. (1996). Building the learning organization : A system approach to quantum improvement and global success. New York : McGraw-Hill.

Peter M. Senge. (1990). The fifthdiscipline :The artand practice of the learning organization. New York : Doubleday.

Peter M. Senge. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Currency Doubleday.

Wheelen, T. L. and Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy. 10th ed. New Jersey : Pearson.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.