การศึกษาเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ กรณีศึกษา : อำเภอทุ่งสงจังหวัดนครศรีธรรมราช

อุษา คะเณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลการจัดการรับมือกับอุทกภัย ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการ ดำเนินงานของเครือข่าย และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายป้องกันอุทกภัยและดินถล่มอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย คณะทำงานด้านกายภาพ และคณะทำงานด้านสังคม กฎหมายระบบแผนพัฒนาและผังเมือง การเก็บข้อมูลใช้รูปแบบการสัมภาษณ์จากผู้บริหารเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องและชุมชน รวมถึงการสังเกตการดำเนินงานจริงของเครือข่ายป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
ผลการวิจัยพบว่ามี 2 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเครือข่าย คือ 1) ปัจจัยที่สามารถควบคุมและ
จัดการได้ คือ ทรัพยากร โครงสร้างอำนาจหน้าที่ ระบบการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารภายใน และ 2) ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ผลงานวิจัย ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับทราบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการดำเนินงาน แนวทางแก้ไขปัญหา โดยทุกภาคส่วนร่วมกันนำเสนอแนวความคิด ในการปรับแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เร่งด่วนในปีถัดไปเพื่อรับมือการเกิดอุทกภัย โดยการจัดทำเป็นคู่มือ นอกจากนั้นชุมชนก็ได้รับทราบข้อมูล แนวทางการปฏิบัติตน
เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจการแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านภัยพิบัติในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช


Keywords


พัฒนาประสิทธิภาพ / เครือข่ายป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ; ภัยพิบัติ; เทศบาลเมืองทุ่งสง; นครศรีธรรมราช

Full Text:

PDF

References


ภีม ภคเมธาวี และคณะ. (2552). การวิจัยนำร่องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการ สังคมเชิงพื้นที่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัยและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: กรุงเทพฯ.

พีระศักดิ์ ชมพูนุช. (2549). การศึกษาแนวทางบรรเทานํ้าท่วมเทศบาลเมืองทุ่งสงด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ HEC - RAS. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเกิดนํ้าท่วม-ดินถล่มในพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างแบบจำลอง สำหรับกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการเตือนภัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

อุษา คะเณ. (2553). การพัฒนาศักยภาพของการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยของเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เครือข่ายการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน สกอ. ภาคใต้ตอนบน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.