ศึกษารูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรในสังคมไทย
Abstract
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการปฏิบัติธุดงควัตรในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการปฏิบัติธุดงควัตรของพระเถระในสังคมไทย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรในสังคมไทย วิธีการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือที่รวบรวมเกี่ยวกับหลักของการปฏิบัติ และงานเขียนต่าง ๆ ตลอดทั้งการสัมภาษณ์ และสังเกตการณ์ นำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย ผลจากการวิจัยพบว่า คำว่า ธุดงค์ แปลตามตัว หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส ประกอบด้วย
ข้อวัตรปฏิบัติ 13 ข้อ เรียกว่า ธุดงควัตร 13 ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติสามารถเลือกปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งได้ตามความสมัครใจ และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อ เพราะการปฏิบัติขึ้นอยู่กับบุญบารมี ความอดทน และความเพียร เช่น การถือปฏิบัติข้ออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) และโสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวาย มุ่งต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสภายในของแต่ละบุคคลในปัจจุบันนี้ ธุดงควัตรได้แพร่ไปยังสำนักต่าง ๆ และมีพระสงฆ์ถือปฏิบัติตามกันมาเป็นกระบวนการจนถึงยุคปัจจุบัน พระสงฆ์ในสังคมไทยที่ปรากฏเด่นชัดในหลักของการปฏิบัติธุดงควัตร เช่น (1) พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (2) หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (3) หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (4) ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นต้น ได้ถือปฏิบัติธุดงควัตรมาเป็นประจำไม่ลดละ การปฏิบัติธุดงค์จึงเป็นการทวนกระแสเข้าสู่วิถีเดิมของการปฏิบัติ เนื่องจากพระมหาสาวกในพุทธกาลไม่ว่าพระมหากัสสป-เถระ พระอุปเสนเถระ และ
ท่านอื่น ๆ อีกหลายรูปที่ได้ดำเนินตามแนวทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างบรรลุผลในการปฏิบัติ
ในส่วนของรูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรในสังคมไทยในปัจจุบันนั้น มีกระบวนการฝึกอบรมตาม
หลักธุดงควัตร 13 ข้อหลายสำนัก คือ (1) วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชา สุภทฺโท มุ่งพัฒนาอบรมบรรพชิตตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง (2) พระอาจารย์จรัญ อนงฺคโณ ก็ได้กล่าวว่า ธุดงควัตร 13 ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการสั่งสอนพระภิกษุสามเณร ที่บวชเข้ามาในพุทธศาสนา โดยการสมาทานถือผ้าสามผืนเป็นวัตร มีสบง จีวร และสังฆาฏิ การถือบิณฑบาต เป็นวัตร ถือนั่งอาสนะเดียว ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร เป็นต้น
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.