การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

วรรณมาส สืบโถพงษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยประเมินความรู้เรื่องเพศศึกษา ความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและค่านิยมทางเพศที่เหมาะสม กลุ่มตัวย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาพณิชยการ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 2) แบบสอบถามความต้องการฝึกอบรมสำหรับนักเรียน 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนา
หลักสูตร 4) แบบทดสอบความรู้เรื่องเพศศึกษา 5) แบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ 6) แบบวัดค่านิยมทางเพศที่เหมาะสม และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผู้วิจัยดำเนินการ ดังนี้ พัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนของ ทาบา 7 ขั้นตอน การศึกษาวิเคราะห์ความความสำคัญจำเป็น กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาการจัดลำดับเนื้อหา การจัดประสบการณ์ การเลือกประสบการณ์ และ การประเมินผล ซึ่งหลักสูตรผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้ 2. การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม
เพื่อปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พบว่า ความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมตํ่ากว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรม สูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักเรียนอยู่ในระดับมาก


Keywords


หลักสูตรฝึกอบรม; พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ; วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

Full Text:

PDF

References


การพัฒนาจังหวัด. (2556). แผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มงานยุทธศาสตร์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี,

พระสมโภชน์ โว้วงษ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการครองชีวิตในวัยเรียนสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี

ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์. (2550). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนอาชีวศึกษา. จังหวัดสงขลาและพัทลุง สงขลานครินทร์เวชสาร ปีที่ 25 ฉบับที่ 6 พ.ย.-ธ.ค. 2550.

ภาคีความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2555). เวทีเสวนาระดับชาติเรื่อง “การรณรงค์สาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องท้องในวัยรุ่น” วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09.00 - 12.30 น. ณ ห้องมณเฑียรทิพย์ โรงแรมมณเฑียร ถ.สุรวงศ์ กรุงเทพฯ.

วิไล ทองแผ่ และคณะ. (2552). การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงทางเพศ สำหรับเยาวชน จังหวัดลพบุรี

และจังหวัดสระบุรี. ลพบุรี: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ .(2556). แผนกลยุทธ์ประจำปี 2556-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

สุรมิตร แสงสุระ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ .(2556). สรุปข่าวหน้า 1 หนังพิมพ์ไทยโพสต์. สืบค้น มกราคา 17, 2556, จาก http://news.voicetv.co.th/thailand/60730.html.

อมรศรี ศรีอินทร์. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะชีวิตเกี่ยวกับพฤติกรรมทาง เพศของวัยรุ่นที่เหมาะสม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Ellis, A., & Grieger, R. (1982). Handbook of Retinal Emotive Therapy. New York: Springer.

Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace and world.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.