ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารการเงินกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงิน ส่วนบุคคล ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

พิชามญชุ์ ศรีสุวรรณ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ศึกษาระดับ
ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายทางการเงิน ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และปัจจัยด้านประสบการณ์ทางการเงินและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายทางการเงิน ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และปัจจัยด้านประสบการณ์ทางการเงิน กับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารพาณิชย์
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และสถิติค่าการถดถอยแบบพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายทางการเงินโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านประสบการณ์ทางการเงินโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านพฤติกรรม การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายทางการเงิน ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและปัจจัยด้านประสบการณ์ทางการเงินกับพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล พบว่า มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล; เป้าหมายทางการเงิน; ความรู้ความเข้าใจ; ประสบการณ์ทางการเงิน

Full Text:

PDF

References


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). หลักสถิติ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลฐกาน ตั้งทิวาพร. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคคลทำงาน กรณีศึกษาพนักงานธนาคาร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

จันทร์เพ็ญ บุญฉาย. (2552). การจัดการการเงินส่วนบุคคล : กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จารุณี จอมโคกสูง. (2555). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). ผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2556. ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย.

________.(2557). ธนาคารพาณิชน์. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bot.or.th (มิถุนายน 2557).

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ศันสนีย์ จันต๊ะมงคล. (2550). กระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของมัคคุเทศก์

ที่ประกอบอาชีพในจังหวัดเชียงใหม่. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิรินุช อินละคร. (2548). การเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ. (2552). ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศานติ ศาสนปัชโชติ. (2552). พฤติกรรมการวางแผนทางการเงินของพนักงานโรงงานผลิตเคมีและผงโลหะแห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. จังหวัดระยอง

สมาคมบริษัทจัดการลงทุน. (2557). การวางแผนทางการเงิน. [Online]. เข้าถึงได้จาก :

http:// www.aimc.or.th/en/03_faqs_detail_01_05.php (8 เมษายน 2557).

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2552). ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Kehiaian, Scott E. (2012). Factors and behaviors that influence financial literacy in U.S. Households Nova Southeastern University, ProQuest, UMI Dissertations Publishing,.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.