กระบวนทรรศน์หลังนวยุคในปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

พิชัย สุขวุ่น

Abstract


ตามที่คำสอนทางพุทธศาสนาของท่านพุทธทาสภิกขุ ได้รับการยกย่องว่าเป็นการสอนเชิงปฏิรูปโดยท่านได้ตีความคำสอนทางพุทธศาสนาให้ปรากฏอยู่ในโลกแห่งปัจจุบันที่เราสามารถสัมผัสได้ ทั้งเรื่องนิพพาน เรื่องโลกหน้า และความหลุดพ้น ในทางศิลปะท่านก็ให้ความหมายใหม่ว่า ศิลปะคือธรรมะ ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อเดิมอีกเช่นกัน วิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่า การตีความใหม่ทางปรัชญาศิลปะของท่านนั้น เป็นสิ่งเดียวกับหลักการของกระบวนทรรศน์หลังนวยุค(หลังสมัยใหม่) ซึ่งเป็นกระบวนทรรศน์ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นความคิดทางปรัชญาที่ปฏิเสธ ความแน่นอนตายตัวของกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่เคยครองพื้นที่ความจริงของโลกมายาวนาน งานวิจัยดังกล่าวใช้วิธีการวิจัยแบบวิภาษวิธี (dialectic) คือตั้งประเด็นปัญหาและเสนอเหตุผล ข้อโต้แย้งของ
ความเห็นทั้งสองฝ่าย ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาศิลปะของท่านเป็นสิ่งเดียวกับหลักการกระบวนทรรศน์หลังนวยุค เพราะเชื่อในความไม่แน่นอน ปฏิเสธการมีตัวตนของสิ่งทั้งหลาย และเน้นว่าโลกเป็นอนัตตา ดั้งนั้นการที่ท่านตีความว่าโลกเป็นอนัตตาและศิลปะคือธรรมะ จึงทำให้ความเห็นของท่านสอดคล้องกับกระบวนทรรศน์หลังนวยุคได้เป็นอย่างดี เพราะมีเป้าหมายอย่างเดียวกันคือการสร้างสันติภาพของโลก


Keywords


พุทธทาสภิกขุ; กระบวนทรรศน์หลังนวยุค; ปรัชญาศิลปะ

Full Text:

PDF

References


พุทธทาสภิกขุ. (2537). ไกวัลยธรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

_____. (2549). สูตรของเว่ยหล่าง. กรุงเทพฯ: ฮาซันพรินติ้ง.

_____. (2552). อิทัปปัจจยตา. กรุงเทพฯ: ไทยควอลลิตี้บุ๊คส์ (2006).

_____. (2546). จิตว่าง. กรุงเทพฯ: ธรรมสถาพร.

_____. (2549). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

_____. (2548). พุทธทาสลิขิตข้อธรรม บันทึกนึกได้เอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : แปลนรีดเดอร์.

_____. (2550). สวนโมกข์อยู่ที่ไหน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

_____. (2548). แก่นพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

_____. (2551). ศิลปะแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ไทยควอลลิตี้บุ๊คส์.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ: ดวงกมล (2520).

_____. (2546). ปรัชญาภาษาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2552). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัมพันธ์ ก้องสมุทร. (2543). ศิลปินแห่งเซ็น ภิกษุอีมานูเอล เชอร์แมน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Hans Bertens. (1995). THE IDEA OF THE POSTMODERN. London and New York : Routledge.

Margot Lovejoy. (1989). Postmodern Currents Art and Artists in the Age of Electronic media.London : U-M-I Research Press.

Milk Featherstone. (2007). Consumer Culture and Postmodernism. London : SAGE Publications Ltd.

Simon Malpas. (2005). THE POSTMODERN. London and New York : Routledge.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.