การพัฒนาอัตมโนทัศน์ของนักเรียนวัยรุ่นด้วยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม

ณรงค์เดช สกุลดำรงเกียรติ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาอัตมโนทัศน์ของนักเรียนวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาผลของ
การพัฒนาอัตมโนทัศน์ของนักเรียนวัยรุ่นโดยให้คำปรึกษาแบบกลุม่ กลุม่ ตวั อย่างที่ใชใ้ นการศึกษาอัตมโนทศั น์เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัยธมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำ􀄕นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 420 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอยา่งที่ใช้ในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในตอนที่ 1 โดยพิจารณาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเฉลี่ยของอัตมโนทัศน์ ตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 16 คน จากนั้นสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน และกลุ่ม ควบคุมจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดอัตมโนทัศน์ และโปรแกรมการพัฒนา อัตมโนทัศน์ด้วยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และ t-test แบบเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบดังนี้
1) นักเรียนวัยรุ่นมีอัตมโนทัศน์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง
2) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม นักเรียนวัยรุ่นที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มมีระดับอัตมโนทัศน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่านักเรียนวัยรุ่นที่ไม่ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


อัตมโนทัศน์; การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม; นักเรียนวัยรุ่น

Full Text:

PDF

References


กลัญญู เพชราภรณ์. (2555). การศึกษาอัตมโนทัศน์หลายมิติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดของแบรคเคน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

กลิ่นชบา คำรศ. (2550). อัตมโนทัศน์ มโนทัศน์ต่อผู้อื่น กับทัศนคติต่อความรักและความสัมพันธ์ทางเพศของผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. จิตวิทยาพัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จตุรพร ลิ้มมั่นจริง. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น (Adolescent Pyschology) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2556). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : บริษัท ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรางค์สุทิพย์ ทรงคุณวุฒิศีล. (2553). จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น (Pyschology of Child and Adolescence).

(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณีชูทัย เจนจิต. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและสังคมพื้นฐานเพื่อการแนะแนว เล่ม 1. หน่วยที่ 4 (อัตมโนทัศน์). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลักขณา สริวัฒน์. (2551). การแนะแนวเบื้องต้นศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วัชรี ทรัพย์มี. (2556). กระบวนการปรึกษา ขั้นตอน สัมพันธภาพ ทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2552). อธิบายศัพท์จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2557). จิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการแนะแนว. หน่วยที่ 4 อัตมโนทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Coray, G. (2012). Theory and Practice of Counseling& Psychotherapy. 8tned.Canada : Brooks/Cole.Cengage Learning.

Hurlock, Elizabeth B. (1978). Child Development. 3th.ed.Tikyo : McGraw – Hall Book company.

Ohlsen, M.M. (1988). Group Counseling. New York : Holt Rinehart and Winston.

William James. (1996). Principle of Psychology Vol. l. New York : Dover.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.