การพัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่อง ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน

ฉบาไพร ทองหล่อ

Abstract


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพผู้ป่วย และญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน ที่หอบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมวิเคราะห์ปัญหา วางแผนดำเนนิ งาน นำแนวทางปฏิบัติ ปปฏิบัติกิบผู้ป่วยทีห่อบำบัดผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลอื ดสมองและ
สมองเสื่อม โรงพยาบาลตากสิน ติดตามกำกับและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการใช้กระบวนการการ A-I-C (Appreciation-Influence-Control) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า ผลจากการมีส่วนร่วมและการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพได้มีแนวทางปฏิบัติการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตันที่หอบำบัดผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองและสมองเสื่อม โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ผลการนำแนวทางปฏิบัติไปใช้พบว่า การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน
การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน การรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตันซํ้า แรงจูงใจด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตันซํ้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001


Keywords


การมีส่วนร่วม; การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ; โรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน

Full Text:

PDF

References


กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2547). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: แอล.ที.เพรส.จำกัด.

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2550). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: เอ็น.พี.เพรส.

กฤษณา พิรเวช. (2552). การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ใน ณัฐ พสุธารชาติ,

อรอุมา ชุติเนตร และ นิจศรี ชาญณรงค์.(บรรณาธิการ). Basic and Clinical Neuroscience. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำเนียร คูห์สุวรรณ, วนิดา หาญคุณากุล, ศศิธร ศิริกุล. (2553). การพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.

ดิษยา รัตนากรและคณะ. (2554). Current Practical Guide to Stroke Management. กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์.

ธิดารัตน์ อภิญญา, นิตยา พันธุเวทย์. (2554). ประเด็นสารวันอัมพาตโลก. เข้าถึงเมื่อ :

http://thaincd.com/document/file/news/announcement/strokeday_54_update27sep54.pdf.

นิจศรี ชาญณรงค์ (สุวรรณเวลา). (2550). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดโดยทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาย จิโรจน์กุล. (2548). การวิจัยทางการพยาบาล. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิรัชชา จิรจารุภัทร. (2551). การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สมใจ วินิจกุล, นันทวรรณ เภาจีน, อุบล ตุลยากรณ์, วัลยา ตูพานิช. (มกราคม-มิถุนายน 2551). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ” วารสารเกื้อการุณย์. 15 (1) หน้า 33-45.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2551). โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร จากคู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2551. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

Naewbood, S. (2005). Factors related medication adherence among persons with hypertention. Unpublished master’s thesis, Master of Nursing Science (Community Health Nursing), Faculty of Graduate studies, Mahidol University.

National Institute of Neurological Disorders and Stroke. (2008). Burden of neurological disease. [Online] Available : http://www.nih.gov/about/almanac/organization/NINDS.htm (3 November 2010)

National Institute of Neurological Disorders and Stroke. (2008). Stroke Awareness. [Online] Available : http://www.ninds.nih.gov/ (3 November 2010)

Sacco, R. L., et al. (2008). Guidelines for prevention of stroke in patients with ischemic stroke or transient ischemic attack. A statement for healthcare professionals from the American

Heart Association/American Stoke Association Council on Stroke. Stroke, 37 : 577-617.

World Stroke Organization. (2009). World Stroke Day. [Online] Available : http://www.world Stroke (3 November 2010)


Refbacks

  • There are currently no refbacks.