การพัฒนาชุดฝึกอบรมกฎหมายสิ่งแวดล้อม ในการจัดการขยะมูลฝอยสำหรับนักเรียนในชุมชนริมคลอง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะริมคลองสำโรงบริเวณ
หน้าวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการใช้ชุดฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการอบรมของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2 โดยรวมและจำแนกตามเพศและระดับชั้นเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการใช้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย สิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะหลังการอบรมของนักเรียนที่มีเพศและเรียนระดับชั้นต่างกัน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมคลองสำโรง ระยะที่ 2 การพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ในเรื่องการจัดการขยะ และการสร้างเครื่องมือวัดผลการอบรม ระยะที่ 3 การทดลองใช้คู่มือการอบรมและการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการอบรม เครื่องมือวัดผลการอบรมได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบวัดความตระหนักและแบบวัดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้คู่มือการฝึกอบรมที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two-way MANCOVA และ ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการทิ้งขยะมาจากหลายสาเหตุ และประชาชนที่ตั้งบ้านเรือน
อยู่ริมคลองสำโรงมีพฤติกรรมการทิ้งขยะแตกต่างกัน แผนการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7052 นักเรียน โดยรวมและจำแนกตามเพศและระดับชั้นเรียน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะ ความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยรวมและเป็นรายขั้นและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเรื่องการจัดการขยะเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม (p<.001) นักเรียนที่มีเพศต่างกัน และนักเรียนระดับชั้นต่างกันมีความรู้ ความตระหนักโดยรวมและรายขั้น 2 ขั้น และพฤติกรรมดังกล่าว ไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนชายมีความตระหนักขั้นการตอบสนองมากกว่านักเรียนหญิงและนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความตระหนักขั้นตอบสนองมากกว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (p=.002) นอกจากนี้ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพศกับระดับชั้นเรียน (P≥.269)
Keywords
Full Text:
PDFReferences
นิภา มนูปิจู. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
บัญชร แก้วส่อง. (2531). รูปแบบทางสังคม-จิตวิทยาสำหรับการอธิบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2555). สิ่งแวดล้อมศึกษาและการพัฒนา (ปรับปรุงครั้งที่ 3). นครปฐม : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขแห่งอาเซียน.
Refbacks
- There are currently no refbacks.