การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยรับยาสมุนไพร ในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมุทรสาคร

จีรนันท์ บุญอิ่ม

Abstract


    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และความต้องการการรับยาจากสมุนไพรในการรักษา (2)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการดูแลผู้ป่วยรับยาสมุนไพรในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมุทรสาคร (3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึนและนำไปใช้กับแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย มีการใช้ยาได้ถูกต้องตามเวชกรรมไทย กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มโดยการคัดเลือกผู้ทีมีส่วนเกียวข้องแบบเฉพาะเจาะจงกับการใช้ยาสมุนไพรใน โรงพยาบาลสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที 1 เพื่อศึกษาสภาพการณ์และความต้องการการรับยาสมุนไพรในการรักษาของโรงพยาบาลแห่งนี ได้รับการคัดเลือกจำนวน 97 คน ได้แก่ แพทย์ 5 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน แพทย์แผนไทย 2 คน ผู้ป่วยทีมารับบริการการรักษาด้วยยาสมุนไพร 81 คน และญาติผู้ป่วย 2 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อประเมินความเหมะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจำนวนเป็นกลุ่มตัวอย่างเดิม 14 คน ได้แก่แพทย์ 5 คน เภสัชกร 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 2 คน แพทย์แผนไทย 1 คน รวมอาจารย์แพทย์แผนไทยประยุกต์ 1 คน เครืองมือในการวิจัย จากการศึกษาแนวคิดทฤษฏีจากเอกสารตำรา และผลงานวิจัยทีเกียวข้องมี 3 ชุด (1) แบบสนทนากลุ่มเพือศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยรับยาสมุนไพร สำหรับผู้ให้บริการ 1 ชุดและผู้รับบริการ 1 ชุด (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่สร้างขึ้น (3) แบบบันทึกข้อมูลเวชระเบียนสถิติจากผู้ป่วยที่มารับยาสมุนไพรจำนวน 81 ราย เพื่อวิเคราะห์ร่วมด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล จากฐานข้อมูลเวชระเบียนของโรงพยาบาลสมุทรสาครระหว่าง มิถุนายน 2558 ถึง กันยายน 2558 จากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้มารับบริการที่คลินิกการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลแห่งนี้ โดยใช้ในการเก็บข้อมูลคือบันทึกข้อมูลการใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกับยาสมุนไพร และสถิติทีใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและคำนวณค่าคะแนนความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า (1)การศึกษาสภาพการณ์และความต้องการและมีความพึงพอใจการรับยาจากสมุนไพรในการรักษา (2)การประเมินความการสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการดูแลผู้ป่วยรับยาสมุนไพรในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสมุทรสาครเหมาะสมกับการนำไปใช้ร้อยละ 92.5 (3)ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและนำไปใช้แพทย์ บุคลากรสาธารณสุข ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย มีการใช้ยาสมุนไพร รวมทั้งแบบบันทึกผู้ป่วยที่มารับบริการ 81 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงโรคที่พบบ่อยคือโรคทางเดินอาหาร ท้องอืด ท้องผูก การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรโดยพบคู่ยาอันตรกิริยาในผู้มารับบริการจำนวน 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.15 การใช้ยาสมุนไพรควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน ต่างมีข้อดีที่สามารถไข้ร่วมกันได้แต่ต้องระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัน ตามข้อมูลทางวิชาการของยาสมุนไพรแต่ละชนิด ได้มีการใช้ Drug interaction editor ในโปรแกรม HosXp ของโรงพยาบาลสมุทรสาครเพื่อแจ้งเตือนคู่ยาทีเกิดอันตรกิริยาร่วมกับบทบาทของสหสาขาวิชาชีพในการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรควบคู่ยาแผนปัจจุบันอย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะสำหรับโรงพยาบาลทีต้องการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ต้องคำนึงถึงบริบทของขนาดโรงพยาบาลและ ลักษณงานที่ให้บริการด้วย

Keywords


การพัฒนา, รูปแบบการรับยาสมุนไพร, การแพทย์แผนไทยประยุกต์

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.