เบาหวาน (มธุเมโห) ตามหลักการแพทย์แผนไทย

แสงสิทธิ์ กฤษฎี

Abstract


การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสารชั้นต้น คือ คัมภีร์เวชศาสตร์ฉบับหลวง พบว่าเบาหวาน
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์คิริมานนท์ พระไตรปิฎกทางพระพุทธศาสนา คือ มธุเมโห ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวได้มีการอ้างถึงในคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทย คือ คัมภีร์ธาตุวิวรณ์และคัมภีร์ฉันทศาสตร์ และจากสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นางอรุณวรรณ เฮงตระกูล, นายสัญชัย เมฆฤทธิไกร และนายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา ได้ให้ความเห็นทางการแพทย์แผนไทยที่ว่า มธุเมโห (เบาหวาน) เป็นอาการที่มีสมุฏฐานมาจากเสมหะกำเริบพิการไปเป็นเหตุให้ปิตตะหย่อน หรือเกิดจากสมุฏฐานปิตตะหย่อน-พิการ เป็นเหตุให้เสมหะกำเริบ การรักษาการกินอาหารให้สัมพันธ์และพอแก่ธาตุของตน ดื่มนํ้าเมื่อกระหาย ออกกำลังกาสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนตามกาลสมุฏฐาน ใช้อาหารรสขม จืด เผ็ด หอม ใช้ยารสขม เมา เผ็ด-ร้อน การนวด อบ ประคบ ตำรับยา รสประธาน (คุณสมบัติสุขุม) พิกัดสมุฏฐานเสมหะกำเริบพิกัดสมุฏฐานพัทธะปิตตะหย่อน-พิการ เครื่องยารสขม เมา ฝาด หลักการตั้งตำรับเบาหวาน แก้ในกองสมุฏฐานเสมหะกำเริบ และกองโรคเป็นหลักไปพร้อมกัน สรรพคุณของยา ถ่ายนํ้าเหลืองเสีย เสริมปิตตะ (เพื่อกระจายเลือดลม) บำรุงเลือด การศึกษาค้นคว้านี้จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาองค์ความรู้การวิจัยในรูปแบบของศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาในระดับวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกต่อไป


Keywords


เบาหวาน; มธุเมโ; การแพทย์แผนไทย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.