ผลของอุณหภูมิและระยะการเก็บรักษาต่อความพอใจในรสชาติและปริมาณแร่ธาตุของมะพร้าวน้ำหอม(CocosnuciferaLinn.) เพื่อการบริโภคระดับครัวเรือน
Abstract
มะพร้าวน้ำหอม ช่วงอายุ 6 เดือน จากสวนดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 6 ทะลาย ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามอุณหภูมิการเก็บรักษา กลุ่มแรกเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5°C เป็นเวลา 26วัน กลุ่มที่สองเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30°C เป็นเวลา 12 วัน ทดสอบหาความพึงใจในรสชาติและปริมาณแร่ธาตุของมะพร้าวที่แต่ละอุณหภูมิตามระยะเวลาการเก็บรักษา0,4,8,12,19 และ 26 วันผลการศึกษาเชิงคุณภาพจากการประเมินความพอใจของผู้ชิม พบว่าการเก็บรักษาที่ 5°C ผู้ชิมยอมรับได้ถึงวันที่ 12 ของการเก็บรักษา น้ำมะพร้าวมีความหวานมาก แต่กลิ่นหอมน้อย และความพอใจรสชาติโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ขณะที่มะพร้าวน้ำหอมเก็บรักษาที่ 30°C ผู้ชิมยอมรับได้จนถึงวันที่ 8 ของการการเก็บรักษา ซึ่งมะพร้าวที่อายุการเก็บรักษานี้มีความหวานและกลิ่นหอมมาก ความพอใจรสชาติโดยรวมอยู่ในระดับพอใจถึงพอใจมาก ด้านการศึกษาปริมาณแร่ธาตุ พบโพแทสเซียมมากสุดและรองลงมา คือ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และสังกะสีตามลำดับ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุที่ศึกษาในแต่ละอุณหภูมิยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม พบว่า ปริมาณธาตุที่พบในน้ำมะพร้าวเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่างกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมะพร้าวเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูง มักพบปริมาณแร่ธาตุต่ำกว่ามะพร้าวเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กิตติศักดิ์ พูนสิน.(2546). การศึกษาโครงสร้างตลาดมะพร้าวอ่อน ในระดับผู้ผลิต อำเภอดำเนินสะดวกวิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
นันทนากันยานุวัฒน์และนุชนาทนาคา. (2555). แนวทางการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบทางเคมี. สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. น. 1-107.
นฤมล วิชิรปัทมา,ฑิตฐิตา ศรีภุมมา และสุทธินี ไมตรีสรสันต์. (2544). การหาปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และคลอไรด์ ในน้ำมะพร้าวน้ำหอมด้วยเทคนิค Capillary Electrophoresis. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19(4)
พาณิชย์ ยศปัญญา. (2544). มะพร้าวพืชสารพัดประโยชน์. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ.
วรารัตน์ แก้วภู่ และพิสิฏฐ์ ธรรมวิถี. (2556). อิทธิพลความแก่-อ่อนและระยะเวลาในการเก็บรักษาที่มีต่อคุณภาพน้ำมะพร้าว. วิทยาศาสตร์เกษตร. 44(3): น. 265-268.
วรรณภา เสนาดี และปานศิริ นิบุญธรรม. (2554). ยุคทองของมะพร้าวน้ำหอมหนึ่งเดียวของไทย. เคหการเกษตร 35 (1): 78.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. (2544).สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปพ.ศ. 2538 จังหวัดราชบุรี ปี 2544.น. 80.
Anon. (2001).Coconut Festival. Beijing Review 44(22): 4.
Solangi, A.H. andIqbal, M.Z. (2011).Chemical Composition of Meat (kernel) and Nut Water of Major coconut (Cocosnucifera L.)Cultivars at Coastal Area of Pakistan.Pak. J. Bot. 43: 357-363.
Sousa, R.A., Silva, J.C.J., Baccan, N., and GodoreS. (2005).Determination of Metals in Bottled Coconut Water Using an lnductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometer.Journal of Food Composition and Analysis. 18: 399-408.
Wijeratnam R.S.W.,Jeyachandran, V., Karunanithy,K.,Hewajulige, I.G.N. and Perera, M.G.D.S. (2006). Extending storage life of king coconut, Cocosniciferavar. aurentica. IV International Conference on Managing Quality in chains-The Integrated View on Fruits and Vegetables Quality. 712: 407-411.
Refbacks
- There are currently no refbacks.