การพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 การศึกษาได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผู้ใช้บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ก่อนเรียนและหลังเรียนและมีเป้าหมายให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 นอกจากนี้มีการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องพาราโบลาประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 322 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นบทเรียน ประกอบด้วย คู่มือการใช้จุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ เนื้อหาสาระของบทเรียนกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสำรวจความพึงพอใจในเรื่องการเรียนด้วยบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test ) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่า E1/E2 เท่ากับ 83.05/79.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลาอยู่ในระดับมาก
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิดติพร อาจวิชัย. (2554). การพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เรื่องพาราโบลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
นิตศรา โงนรี. (2555). การพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม GSP (The Geometer’s Sketchpad) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปาจิตร ศรีสะอาด. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาลิณี พูลศรี. (2549). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วรวรรณ กฤตยากรนุพงศ์. (2551). กิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความเท่ากันทุกประการโดยใช้การแปลง ทางเรขาคณิตและซอฟต์แวร์เรขาคณิตแบบพลวัตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัฒฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัฒนศิริ ชมหมู่. (2548). บทเรียนปฏิบัติการ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม.(การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อัดสำเนา.
ศุภวัลย์ ภู่ประเสริฐ. (2552). ผลการใช้บทเรียนปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรม GSP ที่เน้นทักษะการเชื่อมโยง สาระเรขาคณิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). คู่มืออ้างอิง The Geometer’s Sketchpad ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต. กรุงเทพฯ: สสวท.
Bell, B.F. (1993). Children’s science constructivism and learning in science. Gelong Deakin University Press.
Underhill, R.G. (1991). Two layer of constructivist curricular interaction. In.E. Von Glasersfeld
_____. (Ed.). Radical Constructivism in Mathematics Education. Dordrecht, the Netherlands : Kluwer Academic.
Refbacks
- There are currently no refbacks.