โปรแกรมควบคุมระบบการตรวจจับปริมาณแก็สแอลพีจีในห้องครัวด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ พร้อมระบบส่งสัญญาณเตือนภัย

นิคม ลนขุนทด

Abstract


ปัจจุบันก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจี กับเตาหุงต้มในครัวเรือนนับเป็นของที่อยู่คู่กับครัวเรือนไทยเกอืบทกุ หลงั คาเรอืนเรือน โดยพบวา่ สดั สว่ นการใชก้ ๊าซหงุ ตม้ หรอื กา๊ ซแอลพจี มากที่สดุ อยูที่ภาคครวั เรอืนผลกระทบที่เกิดจากการนาก๊าซแอลพีจีมาใช้ก็มีจานวนมากเช่นเดียวกัน เช่นการรั่วไหลในอากาศ การระเบิดการคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ก๊าซแอลพีจีในภาคครัวเรือนจึงมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตงานวิจัยนี้ได้นาเสนอการตรวจจับปริมาณความเข้มข้นก๊าซแอลพีจีในบรรยากาศโดยนาไมโครคอนโทรลเลอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการควบคุมและประมวลผล สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับปริมาณการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจีและส่งสัญญาณออกทางพอร์ตเอาท์พุทให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าทาให้สามารถควบคุมอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้ ในการทดลองได้ทำการตรวจจับปริมาณก๊าซแอลพีจีอุปกรณ์เซนเซอร์ ทดสอบเทียบกับประสิทธิภาพการทางานของเครื่องมือวัดที่มีขายในประเทศ (เครื่องตรวจจับก๊าซมีเทน รุ่น FG100S ยี่ห้อ KIMO) โดยตั้งสมมุติฐานการทดสอบที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณความเข้มข้นของก๊าซแอลพีจี ในระดับที่ต่างกันเพื่อวัดความเข้มข้นของก๊าซ ซึ่งเป็นก๊าซที่ใช้ในการประกอบอาหารทั่วไปที่เป็นแบบห้องปิด โดยการใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับปริมาณการรั่วไหลของก๊าซแอลพีจี เมื่อปริมาณก๊าซในห้องมีมากเกินระดับความเข้มข้นในอากาศจนถึงขีดที่กาหนด (1,000 ppm) จะส่งสัญญาณและแจ้งผ่านเอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามเลขหมายที่กำหนดพร้อมส่งให้พัดลมระบายอากาศทางานเพื่อระบายก๊าซออก ถ้าปริมาณของก๊าซไม่ลดลงจะทาการแจ้งเตือนเป็นระยะ
ผลการทดลองพบว่าเมื่อความเข้มข้นของก๊าซแอลพีจีสูงเซนเซอร์จะส่งสัญญาณและแจ้งผ่าน
เอสเอ็มเอสเข้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามเลขหมายที่กาหนดพร้อมส่งให้พัดลมระบายอากาศทางานเพื่อระบายก๊าซออก ถ้าปริมาณของก๊าซไม่ลดลงจะทาการแจ้งเตือนเป็นระยะ เซนเซอร์ที่นามาทดลองมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับ เครื่องตรวจจับก๊าซมีเทน (KIMO) ที่นามาเปรียบเทียบ ในขณะเดียวกันเมื่อความเข้มข้นของก๊าซลดลงเซนเซอร์ทดลองจะรายงานค่าความเข้มข้นที่ลดลงสอดคล้องกับเครื่องตรวจจับก๊าซมีเทน (KIMO)


Keywords


เซนเซอร์; แอลพีจี; ไมโครคอนโทรลเลอร์

Full Text:

PDF

References


Luay Fraiwan, Khaldon Lweesy, Aya Bani-Salma, Nour Mani, (2011) , “A Wireless Home Safety Gas Leakage Detection System”, Jordan University of Science & Technology Department Biomedical Engineering ,IEEE, (2011) .

T. Machappa, M. Sasikala, and M. V. N. Ambika Prasad, “Design of Gas Sensor Setup and Study of Gas (LPG) Sensing Behavior of Conducting, Polyaniline/Magnesium Chromate, (MgCrO4) Composites, “ IEEE SENSORS JOURNAL, VOL. 10, NO. 4, APRIL 2010

D. S. Lee, D. D. Lee, S. W. Ban, M. Lee, and Y. T. Kim,”SnO2 gas sensing array for combustible and explosive gas leakage recognition,” IEEE Sensors J., Vol. 2, pp. 140- 149,2002.

Shobi Bagga, Navakanta Bhat, Senior Member, IEEE, and S. Mohan, “LPG Gas-Sensing System With SnO2Thin-Film Transducer and 0.7-μm CMOS Signal Conditioning ASIC”. IEEE TRANSACTIONS ON INSTRUMENTATION AND MEASUREMENT, VOL. 58, NO. 10, OCTOBER 2009.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.